ประเภทของพลาสติก

ถุงนวม

ประเภทของพลาสติก

ในชีวิตประจำวันเราพบเจอพลาสติกมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทพลาสติกได้ดังต่อไปนี้

1.PE (Polyethylene) โพลิเอทิลีน

มีสีขาวขุ่น โปร่งแสง มีความลื่นเวลาสัมผัส หยุ่นตัวได้ ไม่ติดแม่พิมพ์ มีความเหนียวทนทาน มีความทนต่อกรดและด่างอ่อน ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี สามารถใส่สีผสมได้ง่าย ไม่มีกลิ่น เป็นฉนวนไฟฟ้า ป้องกันความชื้นได้ มีความหนาแน่นระดับต่ำ (LDPE) และความหนาแน่นระดับสูง(HDPE) สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้หลายรูปแบบ เช่น ขวดใส่สารเคมี ขวดใส่น้ำทั่วไป กล่องบรรจุสินค้า เครื่องเล่นของเด็ก ถุงเย็น ชิ้นส่วนของแบตเตอรี่ ถุงใส่ของ เป็นต้น

1.1 LDPE (Low density polyethylene)

เป็นพลาสติกประเภทโพลิเอทิลีน (polyethylene) ที่มีความหนาแน่นต่ำ อยู่ที่ 910 -0.925 g/cm3 ไม่ทนความร้อน สามารถใช้ความร้อนเชื่อมติดผนึกได้ดี นิ่ม ยืดหยุ่นได้ดีทนต่อการทิ้มทะลุและการฉีกขาด ไม่ไวต่อสารเคมี ทนต่อกรดและด่าง ป้องกันการผ่านของความชื้นได้ ออกซิเจนผ่านได้ ไขมันซึมผ่านได้ จึงไม่เหมาะกับการนำไปใส่อาหารที่มีไขมันสูง ดูดฝุ่นทำให้ดูเลอะเทอะง่าย ได้แก่ ฟีมล์ยืด ฟีมล์หด ถุงเย็นบรรจุอาหาร ขวดน้ำ ฝาขวดน้ำ ถุงดำใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว

1.2 HDPE (High Density Polyethylene)

เป็นพลาสติกประเภทโพลิเอทิลีน (polyethylene) ที่มีค่าความหนาแน่นสูง การเรียงตัวของโมเลกุลมีกิ่งก้านมาก มีความหนาแน่นอยู่ที่ 0.941-0.965 g/cm3 นิยมใช้กันมากในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น ขวด ถัง ถาด ถุงที่ต้องการความแข็งแรงแต่ไม่ต้องการความใสมาก เพราะเนื้อมีความขุ่น แสงผ่านได้น้อย สามารถเติมสีให้สวยงามได้ ไม่ไวต่อสารเคมี ทนกรดด่าง อากาศผ่านได้  เหนียว นิ่ม ยืดหยุ่น ทนความร้อนได้น้อย ป้องกันการผ่านของความชื้นได้สูงมาก ได้แก่  ขวดภรรจุภัณฑ์เนื้อขุ่นต่างๆ ถัง ถาด

2.PVC (Polyvinylchloride) โพลิไวนิลคลอไรด์

เป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบถึง 57% โดยทั่วไป PVC เป็น พลาสติกแข็ง ใส ไม่มีกลิ่น เปราะ มีความต้านทานต่อการเกิด Oxidation ทนต่อการเสื่อมสลายได้ดี ทนต่อน้ำมันและกันกลิ่นได้ดี นอกจากนี้ในการผลิตอาจมีการเติมสารเสริมสภาพพลาสติก (Plasticizers) เพื่อช่วยเสริมความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถรีดเป็นแผ่น PVC นำมาตัดเย็บเป็นของใช้และบรรจุภัณฑ์ต่างๆได้

PVC ยังมีความยืดหยุ่น ง่ายต่อการขึ้นรูปเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ และแข็งแรง อาทิ กรอบประตู  รั้ว  พื้น  ท่อ  กระเบื้อง  วัสดุปูผนัง  กรอบหน้าต่าง  ฉนวนสายไฟ สายเคเบิล  และยังมีความปลอดภัยต่อการสัมผัสอาหาร นำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์และภาชนะใส่อาหาร หรือเก็บรักษาอาหารได้ เนื่องจากป้องกันการซึมผ่านของน้ำและออกซิเจนได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้แทนขวดแก้วได้เพราะมีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดี

 

3. PP (Polypropylene) โพลิโพรพิลิน

เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ PE แต่มีความทนทานต่อความร้อนได้สูงกว่า PE ไม่ทนต่อความเย็น จึงนิยมใช้ผลิตถุงทนร้อน เรียกว่า ถุงร้อนชนิดใส เพราะทนความร้อนได้สูง และสามารถบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารขณะที่ร้อนได้ ไม่เหมาะกับอาหาร frozen food มีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ มีความแข็งและเหนียว คงรูปดี ทนต่อการหักงอได้ปานกลาง ใส โปร่งแสงมากกว่าHDPEทนต่อความร้อนและสารเคมี ป้องกันการผ่านของความชื้นได้ดี ป้องกันการผ่านของอากาศได้ต่ำ ใช้ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารในครัวเรือน เช่น จาม ชาม ถ้วย เข้าไมโครเวฟได้ (microwavable) ใช้ผลิตถ้วยหรือชาม สำหรับผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป เช่นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งคืนรูปด้วยการเติมน้ำร้อนจัด หรือเติมน้ำ เข้าไมโครเวฟก็ได้

 

4. PS ( Polystyrene ) โพลิสไตรีน

PS ( POLYSTYRENE ) โพลิสไตรีนเป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติในการป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ต่ำ สามารถอัดอากาศเข้าไปอย่างรวดเร็ว ขึ้นรูปได้ดี และคงตัว เหมาะสำหรับทำอุปกรณ์ลอยน้ำ เช่น เสื้อชูชีพ เรือ ห่วงยาง สามารถนำโพลิสไตรีนมาผลิตตัวกันกระแทรกได้ รับน้ำหนักได้ถึง 2 ตัน เป็นฉนวนกันความร้อน ความเย็น เคลือบด้วยไอของอะลูมิเนียมได้ จึงนิยมทำเป็นถุงสำหรับบรรจุอาหารสำเร็จรูป และทำภาชนะใส่อาหาร สามารถเติมสีให้สวยงามได้เพราะมีความใสไม่มีสีอื่นเจอปน ด้วยคุณสมบัติใสและคงตัว สำหรับบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็ง ที่ต้องการเพิ่มส่วนที่เป็นช่องใส สามารถใช้ PS ในตำแหน่งที่ต้องการให้มองเห็นของด้านในได้ และด้วยคุณสมบัติในการซึมผ่านของแก๊สได้ดีนี้เอง จึงนิยมนำมาผลิตถุงบรรจุผลิตผลทางการเกษตร บรรจุผลไม้ ผัก ไม้ดอก เพราะก๊าซและไอ้น้ำเข้า-ออกได้ดี

 

5. PET ( Polyethylene terephthalate) พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต

เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติในการป้องกันการซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำได้ดีมาก อีกทั้งยังป้องกันการซึมผ่านของไขมันได้ดีอีกด้วย มีความใสและความเหนียวสูง สามารถใช้เคลือบกับอะลูมิเนียมได้ดี จึงเหมาะสำหรับผลิตเป็นถุงหรือบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการใส่ของอุณหภูมิสูงมากที่สุด และยังได้รับความนิยมมากในการผลิตเป็นขวดสำหรับบรรจุของเหลว เช่น เครื่องดื่ม น้ำมัน น้ำดื่ม และนม ที่ต้องการความใสเห็นของเหลวด้านใน นอกจากนี้ยังใช้เคลือบกับวัสดุอื่น ผลิตเป็นถุงหรือผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ต้ม หรือต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสูงๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published.